
กระดาน มุมความรู้พระสกุลลำพูน
มารู้จัก พระคง พิมพ์โพธิ์เม็ด กรุวัดพระคง จ.ลำพูน กันเถอะ



ณ วัดพระคงฤาษี (อาพัทธาราม) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน ซึ่งมีเนื้อที่วัดอยู่ ๒ ไร่ ๑ งาน ๒ ตารางวา วัดที่ดูว่าเล็กๆ ในปัจจุบัน แต่กลับยิ่งใหญ่ในอดีตมานานนับพันกว่าปี ณ ที่วัดพระคงนี้เอง ที่มีพระเครื่องชื่อเสียงระบือไกลไปทั่วประเทศนั่นก็คือ“พระคง” ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งพระคงนั้นถูกพบเจอ มาร้อยกว่าปีแล้ว ตั้งแต่ปี ๒๔๑๗ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นับระยะเวลาที่มีการบันทึกไว้มาจนถึงวันนี้ ( ๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ ) ก็ร่วม ๑๔๒ ปี และในปัจจุบันนี้พระคง จากวัดพระคง ได้เป็นที่นิยมในหมู่นักสะสมพระเครื่องทั่วประเทศทำให้ราคาเช่าหามีราคาแพง และที่วัดพระคงนี้เองนอกจาก พระคง พิมพ์มาตราฐานที่เราพบเจอแล้ว ยังมี พระพิมพ์อีกหนึ่งพิมพ์ที่มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระคง เป็นอย่างมาก ในภายหลังต่อมา ผมจึงได้ขนานนามพระพิมพ์นี้ว่า “พระคง พิมพ์โพธิ์เม็ด” ด้วยพุทธลักษณะที่เหมือนกับพระคงแทบทุกประการจะมีเพียงจุดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน และมูลเหตุที่เรียกพระพิมพ์นี้ว่าพระคง พิมพ์โพธิ์เม็ดก็เนื่องมาจาก ว่าลักษณะของใบโพธิ์ จะมีลักษณะเป็นก้อนกลม ๆ ซึ่งไม่เหมือนกับใบโพธิ์ของพิมพ์พระคง พิมพ์มาตราฐานทั่วไป ตั้งแต่ในสมัยก่อนที่มีการพบเจอพระคง ที่วัดพระคงนี้เอง นานๆ ครั้งก็จะพบพระคง พิมพ์โพธิ์เม็ดปะปนมาด้วยแต่จำนวนที่น้อยมาก ๆ ด้วยปริมาณที่น้อยมาก และไม่มีหนังสือเล่มไหนเขียนเป็นเรื่องราวออกมาจึงทำให้ผู้คนไม่รู้จัก นอกจากคนในพื้นที่ หรือนักขุดพระ ซึ่งจะเคยผ่านตาหรือเคยเห็น พระคง พิมพ์โพธิ์เม็ด เนื่องจากไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในคนหมู่มาก พระคง พิมพ์โพธิ์เม็ด จึงไม่เป็นที่รู้จักหรือเป็นที่นิยมในหมู่นักสะสม นอกจากนักสะสมในพื้นที่ ที่รู้ประวัติความเป็นมา ด้วยปริมาณที่น้อยมากไม่พอที่จะหมุนเวียนในหมู่นักสะสม นานครั้งเท่านั้นที่เราจะได้เห็น พระคง พิมพ์โพธิ์เม็ด ปรากฏออกมาให้ได้ชมกัน พระคง พิมพ์โพธิ์เม็ด พบเจอที่กรุวัดพระคง เพียงกรุเดียวเท่านั้น ถ้าสังเกตให้ละเอียดเราจะพบว่าพระคง พิมพ์โพธิ์เม็ด จะมีรายละเอียดและไม่อลังการเท่ากับพระคง พิมพ์มาตราฐาน ส่วนเนื้อหา ระหว่างพระคง สองพิมพ์นี้จะมีเนื้อหาที่เหมือนกันทุกประการ
ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผม ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ พระคง พิมพ์โพธิ์เม็ด หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับผู้ที่รักและศรัทธาในพระสกุลลำพูน โดยเฉพาะพระคง เพราะนอกเหนือจาก พิมพ์พระคง ที่เรารู้จักแล้ว ที่วัดพระคงนี้เองยังมีพระคง อีกพิมพ์ที่มีความคล้ายกับพระคงที่เรารู้จักกัน
ส่วนวิธีสังเกตหรือรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ ผมจะได้พูดในภาพเปรียบเทียบในกระทู้ด้านล่างครับ
ขอขอบคุณมากครับ โดย วัฒน์ รัชดา ( ๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ )
ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผม ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ พระคง พิมพ์โพธิ์เม็ด หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับผู้ที่รักและศรัทธาในพระสกุลลำพูน โดยเฉพาะพระคง เพราะนอกเหนือจาก พิมพ์พระคง ที่เรารู้จักแล้ว ที่วัดพระคงนี้เองยังมีพระคง อีกพิมพ์ที่มีความคล้ายกับพระคงที่เรารู้จักกัน
ส่วนวิธีสังเกตหรือรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ ผมจะได้พูดในภาพเปรียบเทียบในกระทู้ด้านล่างครับ
ขอขอบคุณมากครับ โดย วัฒน์ รัชดา ( ๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ )

พระคง พิมพ์โพธิ์เม็ด อีกหนึ่งองค์สำหรับเปรียบเทียบครับ
ความคิดเห็นโดย :
วัฒน์ รัชดา (1)

6 ส.ค. 2559 16:47:02

ในจุดนี้ ในส่วนของเส้นฉัพพรรณรังสี ในพระคง พิมพ์มาตราฐานเส้นฉัพพรรณรังสีจะไปสิ้นสุดที่หัวไหล่ซ้ายขององค์พระ ส่วนในพระคง พิมพ์โพธิ์เม็ด เส้นฉัพพรรณรังสีจะวิ่งไปบรรจบกับเส้นประภามณฑล
ความคิดเห็นโดย :
วัฒน์ รัชดา (1)

6 ส.ค. 2559 16:48:08

ในจุดนี้ ให้สังเกตบริเวณแขนซ้ายขององค์พระ ในพระคง พิมพ์มาตราฐาน จะปรากฏว่ามีนิ้วหัวแม่มือ หรือนิ้วโป้ง แต่ในพระคง พิมพ์โพธิ์เม็ด จะไม่ปรากฏว่ามีนิ้วหัวแม่มือ และลักษณะของแขนซ้ายจะดูเรียวเล็กกว่าในแขนซ้ายของพระคง พิมพ์มาตราฐาน
ความคิดเห็นโดย :
วัฒน์ รัชดา (1)

6 ส.ค. 2559 16:48:37

ในส่วนบัวลูกแก้ว
ในพระคง พิมพ์มาตราฐาน บัวลูกแก้วจะมีลักษณะวงรีคล้ายไข่
ในพระคง พิมพ์โพธิ์เม็ด บัวลูกแก้วจะมีลักษณะออกกลม
ในพระคง พิมพ์มาตราฐาน บัวลูกแก้วจะมีลักษณะวงรีคล้ายไข่
ในพระคง พิมพ์โพธิ์เม็ด บัวลูกแก้วจะมีลักษณะออกกลม
ความคิดเห็นโดย :
วัฒน์ รัชดา (1)

6 ส.ค. 2559 16:48:58

สุดท้ายผมขอขอบคุณทุก ๆ ท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่รักและศรัทธาในพระสกุลลำพูน โดยเฉพาะพระคง และเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องไม่สูญหายไปกับกาลเวลาครับ
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่รักและศรัทธาในพระสกุลลำพูน โดยเฉพาะพระคง และเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องไม่สูญหายไปกับกาลเวลาครับ
ความคิดเห็นโดย :
วัฒน์ รัชดา (1)

6 ส.ค. 2559 16:49:20
สุ ด ย อ ด ค รั บ
ความคิดเห็นโดย :
เนลำพูน

9 ก.ค. 2560 19:40:12