พระนาคปรก ครูบาเจ้าศรีวิไชย หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุจอมทอง


พระนาคปรก ครูบาเจ้าศรีวิไชย หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุจอมทอง
พระนาคปรก ครูบาเจ้าศรีวิไชย หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุจอมทอง
พระนาคปรก ครูบาเจ้าศรีวิไชย หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุจอมทอง
พระนาคปรก ครูบาเจ้าศรีวิไชย หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุจอมทอง
พระนาคปรก ครูบาเจ้าศรีวิไชย หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุจอมทอง


 
 ชื่อรายการ :   พระนาคปรก ครูบาเจ้าศรีวิไชย หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุจอมทอง
 รายละเอียด :
พระนาคปรก ครูบาเจ้าศรีวิไชย รุ่น เจริญพร หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุจอมทอง จ.เชียงใหม่ ปี 2556

พระนาคปรก หลัง ครูบาเจ้าศรีวิไชย รุ่น เจริญพร ปลุกเสกโดย หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุจอมทอง จ.เชียงใหม่ ปี 2556

พระนาคปรก ครูบาเจ้าศรีวิไชย รุ่น เจริญพร เหมาะสำหรับ คนเกิดปีมะโรง ปีมะเส็ง หรือคนเกิดปีที่เกื้อหนุนกันกับปีมะโรง เช่น คนเกิดปีฉลู ปีระกา ปีชวด ปีวอก เพื่อหนุนดวง เสริมบารมี โชคลาภ เมตตา ค้าขาย แคล้วคลาดจากภัยอันตลาดทั้งปวง หรือคนที่ต้องการเสริมดวงแก้ปีชง ในปีมะโรง ตามความเชื่อ
หรือ คนที่เกิดวันเสาร์ ควรจะมีพระนาคปรกไว้บูชาเนื่องจากเป็นพระประจำวัน

คาถาบูชาพระนาคปรก

ตั้งนะโม 3 จบ น้อมจิตระลึกถึงพระรัตนตรัย แล้วสวดคาถาบูชาพระนาคปรก 10 จบ (ตามกำลังวันเสาร์)

ยะโตหัง  ถะคินิ  อะริยายะ  ชาติยาชาโต  นาภิชานามิ  สัญจิจจะ   ปาณังชีวิตา  โวโรเปตา  เตนะ  สัจเจนะโสตถิ  เต  โหตุ  โสตถิ  คัพภัสสะ ฯ

คาถาบูชาพระปางนาคปรกแบบย่อ

ตั้งนะโม 3 จบ

 โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ

อานุภาพของบทสวดบูชาพระนาคปรก คือ ปกป้องคุ้มครอง ปัดเป่าทุกข์และภัยพิบัติต่าง ๆ และยังมีความเชื่ออีกว่าพระปางนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ทางเมตตา  ยังเชื่อกันอีกว่าเป็นพระคาถาขององคุลิมาลที่ไว้ท่องเวลาเสกน้ำให้ผู้หญิงท้องดื่ม เพื่อจะได้คลอดบุตรง่าย ๆ รับรองว่าหากใครได้สวดบทนี้ทุกวัน ชีวิตจะพบแต่ความสุขความเจริญ
..................................
คาถาบูชา ครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนา

อะยัง วุจจะติ สิริวิชะโย นามะ มหาเถโร อุตตะมะสีโล นะระเทเวหิ ปูชิโต โส ระโห ปัจจะยาทีนัง มะหะลาภา ภะวันตุ เม อะหัง วันทามิ สัพพะทา อะหัง วันทามิ สิระสา อะหัง วันทามิ สัพพะโส สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิฯ

..................................
ประวัติพระปางนาคปรก

หลังจากที่พระพุทธโคตมได้ทรงตรัสรู้ พระพุทธองค์ได้แปรที่ประทับเพื่อเสวยวิมุตติสุขยังสถานที่ต่างๆ ในอาณาบริเวณที่ไม่ห่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์นักโดยประทับแต่ละที่สัปดาห์ละ 7 วัน และในสัปดาห์ที่ 6 ในขณะที่พระพุทธองค์ทรงประทับ ณ ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิกน้ำ) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาประทับอยู่ที่นี่ ได้บังเกิดมีฝนและลมหนาวตกพรำตลอดเจ็ดวันไม่ขาดสาย พญานาคได้ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณแห่งเดียวกันนี้ เข้าไปขนด 7 รอบ แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้า เพื่อป้องกันลมฝนมิให้พัดและสาดกระเซ็นมาต้องพระวรกาย ครั้นฝนหาย ฟ้าสาง พญานาคจึงคลายขนดออก แล้วจำแลงเป็นเพศมาณพยืนเฝ้าพระพุทธเจ้าทางเบื้องพระพักตร์ ลำดับนั้นพระพุทธองค์จึงทรงเปล่งอุทานว่า

ความสงัดคือความสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้วได้รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความสำรวมไม่เบียดเบียนในสัตว์ทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ปราศจากกำหนัดหรือสามารถก้าวล่วงพ้นซึ่งกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขอันประเสริฐในโลก ความขาดจากอัสมิมานะหรือการถือตัวตนหากกระทำให้ (การถือตัว) หมดสิ้นไปได้นั้นเป็นความสุขอย่างยิ่ง
..................................

ประวัติ “หลวงปู่ทอง” เกจิดังเมืองล้านนา

สำหรับประวัติ หลวงปู่ทอง  พระพรหมมงคล นามเดิม ทอง พรหมเสน เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 21 ก.ย. พ.ศ. 2466 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ณ บ้านนาแก่ง ต.บ้านแอ่น อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ บิดาชื่อ นายทา นามสกุล พรหมเสน มารดาชื่อ นางแต้ม นามสกุล พรหมเสน มีพี่น้องด้วยกัน 6 คน

บรรพชา วันศุกร์ที่ 19 ม.ค. พ.ศ. 2477 ตรงกันวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ ณ วัดนาแก่ง ตำบลบ้านแอ่น โดยมีพระครูบาชัยวงศ์ (หลวงปู่ครูบาแก้ว ชยวํโส) เจ้าอาวาสวัดนาแก่ง เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบท วันจันทร์ที่ 7 ก.พ. พ.ศ. 2487 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 ปี วอก ณ บ้านแอ่น ต.บ้านแอ่น โดยมีพระครูคัมภีรธรรม (ครูบาอินตา พรหฺมปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดชัยพระเกียรติ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการญาณรังสี เจ้าอาวาสวัดห้วยทราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาจันทร์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามว่า “สิริมงฺคโล”

ประวัติการอบรมด้านวิปัสสนากรรมฐาน

พ.ศ.2477 – 2486 ฝึกการปฏิบัติสมถกรรมฐานกับ พระสุธรรมยานเถร (อินถา อินฺทจกฺโก) พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก) พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ (ครูบาชัยวงศาพัฒนา) ครูบาอภิชัย (ขาวปี)

พ.ศ. 2496 ฝึกการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน 4 ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารกับ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ)

พ.ศ. 2497 – 2500  ฝึกการปฏิบัติและศึกษาแนวทางการปฏิบัติในแนวสติปักฐาน 4 ตามหลักพระไตรปิฎก อรรถกถา และอื่นๆ ที่ประเทศสหภาพเมียนมาร์

.......................................................

ครูบาศรีวิชัย  นักบุญแห่งล้านนาไทย

จากข้อมูลในหนังสือ สารประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ของ สิงฆะ วรรณสัย ได้ระบุข้อมูลชีวิตชั้นต้นของ ครูบาเจ้าศรีวิชัย ไว้ว่า ท่านเกิดในปีขาล เดือน 9 เหนือ หรือเดือน 7 ของภาคกลาง ตรงกับวันขึ้น 11 ค่ำ จ.ศ. 1240 เวลาพลบค่ำ ซึ่งตรงกับวันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2421 ที่บ้านปาง ตำบลแม่ตืน ในปัจจุบันคือ ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ท่านเป็นบุตรของนายควาย และนางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน บ้านเกิดของพวกเขาคือ บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูน ในวันที่นางอุสาเจ็บท้องจะคลอดลูก พระอาทิตย์ได้คล้อยต่ำลงไปเกือบจะ 6 โมงเย็น นายควายและญาติพี่น้องพร้อมด้วยหมอตำแย ได้ดูแลการคลอดของนางอุสาอย่างเต็มที่ และในขณะนั้นท้องฟ้าอากาศที่สว่างไสวกลับมืดครึ้ม เกิดพายุแรงพัดกระหน่ำสายฝนตกลงมาอย่างหนักและมีเสียงฟ้าร้อง

จนกระทั่งในที่สุด นางอุสาก็ได้คลอดทารกน้อยออกมาพร้อมกับเสียงร้องไห้และเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งเมื่อเสียงฝนและพายุก็หยุดสงบลง ทำให้ครอบครัวของนายควายได้ตั้งชื่อเด็กน้อยที่เกิดขึ้นมาว่า ‘เด็กชายอินท์เฟือน’ ตามภาษาล้านนาแปลว่ากระเทือนหรือกัมปนาท

เมื่อครั้งยังเป็นหนุ่มน้อยอายุ 17 ปี นายเฟือนได้เข้าสู่เส้นทางธรรม บวชเป็นเณรที่วัดบ้านปาง ร่ำเรียนวิชาต่าง ๆ กับครูบาขัตติยะ เมื่อสามเณรอินตาเฟือนมีอายุย่าง 21 ปี ก็ได้อุปสมบทเป็นพระที่วัดบ้านโฮ่งหลวง จังหวัดลำพูน ได้รับฉายานามว่า “สิริวิชโยภิกขุ” หรือ “พระศรีวิชัย”

พระศรีวิชัย เป็นที่ร่ำลือกันว่า ท่านเป็นผู้มีศรีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัด อาทิ ท่านงดการเสพหมาก เมี่ยง บุหรี่ นอกจากนี้ยังงดฉันเนื้อสัตว์ ตั้งแต่เมื่ออายุ 26 ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักจะเป็นผักต้มใส่กับเกลือและพริกไทย

ด้วยจริยวัตรอันเคร่งครัดของท่าน ทำให้เกิดแรงศรัทธาแก่เหล่าพุทธศาสนิกชน กระทั่งรวบรวมเหล่าพุทธศาสนิกชนทำการสร้างทางเดินขึ้นดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ได้เป็นผลสำเร็จ โดยเริ่มสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477 และสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2478

นอกจากที่ท่านจะสร้างทางขึ้นดอยสุเทพแล้ว ท่านยังได้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกฉบับลานนาไทย รวมทั้งการสร้าง และบูรณวัดต่าง ๆ หลายวัด ท่านเป็นผู้ทรงศีล จนได้รับขนานนามว่า “พระครูบาศีลธรรมเจ้า”

พระศรีวิชัย ให้ความสนใจในวิชาอาคม และยึดถือเป็นของวิเศษ นำพาความเจริญสู่ชีวิตมาให้ และว่ากันว่า ด้วยความเลื่อมใสในวิชาอาคม พระศรีวิชัยมีความคิดที่จะลาสิกขา รวมทั้งท่านยังได้สักขาหมึกดำทั้ง 2 ข้างตามความนิยมของชายล้านนาสมัยนั้น

ในเวลานั้นครูบาขัตติยะมรณภาพลง พระศรีวิชัยจึงได้ทำบุญฌาปนกิจพระอาจารย์ หลังจากนั้นด้วยท่านเป็นพระที่มีพรรษามากที่สุดในขณะนั้น ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัด จากนั้นจึงทำการย้ายวัดจากที่ตั้งเดิมขึ้นไปอยู่บนเขา และให้ชื่อว่า “วัดศรีดอนชัยทรายมูลบุญเรือง”

ชื่อเสียงของครูบาเจ้าศรีวิชัยทำให้พระสังฆาธิการในจังหวัดลำพูนบางรูปนำโดยเจ้าคณะจังหวัดลำพูนตั้งอธิกรณ์กล่าวหาว่าท่าน 8 ข้อ อาทิ ทำตัวเป็น “ผีบุญ” อวดอิทธิฤทธิ์ ซ่องสุมกำลังผู้คน คิดขบถต่อบ้านเมือง และนำท่านไปจำไว้ที่ลำพูนและวัดศรีดอนไชย เชียงใหม่ จากนั้นจึงได้ส่งตัวท่านไปไต่สวนที่กรุงเทพฯ

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงทรงตั้งคณะกรรมการพิจารณาเรื่องพระศรีวิชัย ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ พระญาณวราภรณ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต) และพระธรรมไตรโลกาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ได้ถวายรายงานมีความเห็นว่า ข้อ 1-5 ซึ่งเกี่ยวกับการไม่ให้ความร่วมมือกับฝ่ายปกครอง พระศรีวิชัยรับสารภาพและได้รับโทษแล้ว ข้อที่เหลือซึ่งเกี่ยวกับการอ้างคุณวิเศษ พระศรีวิชัยไม่มีความผิด เพราะประชาชนเล่าลือไปเอง และเจ้าคณะลงโทษเกินไป ควรปล่อยพระศรีวิชัยกลับภูมิลำเนา สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณโรรสทรงเห็นชอบ

ครูบาศรีวิชัย มรณภาพเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สิริอายุได้ 60 ปี ตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปาง เป็นเวลา 1 ปี จึงได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ ณ วัดจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จนกระทั่งวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนมาร่วมในพิธีพระราชทานเพลิงศพจำนวนมาก และประชาชนเหล่านั้นได้เข้าแย่งชิงอัฏฐิธาตุของครูบาศรีวิชัย ตั้งแต่ไฟยังไม่มอดสนิท แม้แต่แผ่นดินตรงที่ถวายพระเพลิง ก็ยังมีผู้ขุดเอาไปสักการบูชา อัฏฐิธาตุของท่านที่เจ้าหน้าที่สามารถรวบรวมได้ได้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ส่วน แบ่งไปบรรจุตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วแผ่นดินล้านนา ดังนี้

ส่วนที่ 1 บรรจุที่ วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน
ส่วนที่ 2 บรรจุที่ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่
ส่วนที่ 3 บรรจุที่ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม จังหวัดลำปาง
ส่วนที่ 4 บรรจุที่ วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา
ส่วนที่ 5 บรรจุที่ วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่
ส่วนที่ 6 บรรจุที่ วัดน้ำฮู จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ส่วนที่ 7 บรรจุที่ วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวภายหลังการร่วมคณะพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ร่วมรับฟังข้อเสนอการสนับสนุนแผนแม่บทโครงการเสนอชื่อครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นบุคคลสำคัญของโลก

รวมถึงติดตามการดำเนินงานในจังหวัดเชียงใหม่ ว่ากระทรวงศึกษาธิการ มีบทบาทหลักในการสนับสนุนการดำเนินงานขับเคลื่อนการเสนอชื่อ ครูบาเจ้าวิชัย ให้ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพในวาระครบรอบ 150 ปี ชาตกาล ครูบาเจ้าศรีวิชัย ในพ.ศ.2571 ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก
 ราคา :   399
 
 ร้าน :   พลังศรัทธา  
 เบอร์โทรติดต่อ :   0966644953
 E-mail :   PhlangSraththa@hotmail.com

 วันที่อัพเดตข้อมูลล่าสุด :   15 ม.ค. 2567 13:13:15