รูปหล่อครูบาศรีวิชัย เนื้อนวะ วัดป่าดาราภิรมย์ ปี 2539


รูปหล่อครูบาศรีวิชัย เนื้อนวะ วัดป่าดาราภิรมย์ ปี 2539
รูปหล่อครูบาศรีวิชัย เนื้อนวะ วัดป่าดาราภิรมย์ ปี 2539
รูปหล่อครูบาศรีวิชัย เนื้อนวะ วัดป่าดาราภิรมย์ ปี 2539
รูปหล่อครูบาศรีวิชัย เนื้อนวะ วัดป่าดาราภิรมย์ ปี 2539
รูปหล่อครูบาศรีวิชัย เนื้อนวะ วัดป่าดาราภิรมย์ ปี 2539


 
 ชื่อรายการ :   รูปหล่อครูบาศรีวิชัย เนื้อนวะ วัดป่าดาราภิรมย์ ปี 2539
 รายละเอียด :
รูปหล่อครูบาศรีวิชัย เนื้อนวะ วัดป่าดาราภิรมย์ ปี 2539 รุ่นบัว 11 ดอก พิธี 700 ปี เชียงใหม่
 
องค์นี้มีบัตรรับรองพระแท้จากบริษัทล้านนาอมูเลท
 
เจตนาการสร้างดี พิธีดี วัดป่าดาราภิรมย์ จัดสร้างปี 2539 ผ่านพิธีพุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดเจดีย์หลวง เมื่อวันที 10 และ 12 พฤษภาคม 2539 โดยมีคณาจารย์มากมายร่วมพีธี โดยเฉพาะในเขตเชียงใหม่ ลำพูน มีดังนี้
 
1. พระธรรมดิลก (หลวงปู่จันทร์ กุสโล) วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เชียงใหม่
 
2. หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก พิจิตร
 
3. พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ) วัดอรัญญบรรพต หนองคาย
 
4. พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ) วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา
 
5. พระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์) วัดธาตุมหาชัย นครพนม
 
6. พระครูเกษมคณาภิบาล (หลวงพ่อมี) วัดมารวิชัย อยุธยา
 
7. พระครูสังวรสมณกิจ (หลวงพ่อทิม) วัดพระขาว อยุธยา
 
8. พระครูพุทธสิริวัฒน์ (หลวงพ่อเมี้ยน) วัดโพธิ์กบเจา อยุธยา
 
9. พระครูกาญจโนปมคุณ (หลวงพ่อลำใย) วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี
 
10. พระครูอรรถธรรมาทร (หลวงปู่เฮ็น สิริวังโส) วัดดอนทอง สระบุรี
 
11. พระครูนิมิตรนวกรรม (หลวงพ่อสมควร) วัดถือน้ำ นครสวรรค์
 
12. พระครูนิทัศน์ศาสนกิจ (หลวงปู่พิมพา) วัดหนองตางู นครสวรรค์
 
13. พระครูวิทิตพัชราจารย์ (หลวงพ่อประเทือง) วัดหนองย่างทอย เพชรบูรณ์
 
14. พระครูนิพพานการโสภณ (ครูบาสร้อย) วัดมงคลคีรีเขต ตาก
 
15. หลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย พิจิตร
 
16. พระครูภาวนาทัศนวิสุทธิ (หลวงปู่แว่น) วัดถ้ำพระสบาย ลำปาง
 
17. พระครูการุญยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง) วัดสำราญนิวาส ลำปาง
 
18. พระญาณทีปาจารย์ (หลวงปู่ท่อน) วัดป่าศรีอภัยวัน เลย
 
19. พระครูอดิศัยคุณาธาร (หลวงปู่สีทน) วัดถ้ำผาปู่นิมิตร เลย
 
20. พระอาจารย์เสน ปัญญาธโร วัดป่าหนองแซง อุดรธานี
 
21. พระราชสังวรอุดม (หลวงปู่ศรี) วัดป่ากุง ร้อยเอ็ด
 
22. หลวงปู่หลิว ปุณณโก วัดไร่แตงทอง นครปฐม
 
23. พระครูรัตนาคม (ครูบาแก้วมา) วัดพระธาตุเสด็จ ลำปาง
 
24. พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (ครูบาอินสม) วัดเมืองราม น่าน
 
25. พระครูวิจิตรนวการโกศล (ครูบาสมจิต) วัดสะแล่ง แพร่
 
26. พระครูเกษมวรกิจ (พระอาจารย์วิชัย) วัดถ้ำผาจม เชียงราย
 
27. พระครูวิบูลธรรมกิจ (หลวงพ่อบัวเกตุ) วัดป่าริมธาราวาส แม่ฮ่องสอน
 
28. พระครูปัญญาพิศาลเถร (หลวงพ่อไพบูลย์) วัดอนาลโย พะเยา
 
29. พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ (ครูบาเจ้าชัยวงศาพัฒนา) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน
 
30. พระครูโสภณศีลขันธ์ (ครูบาทูน) วัดดอยน้อย ลำพูน
 
31. พระครูสุนันท์รัตนคุณ (ครูบาจันทร์แก้ว) วัดศรีบุญชู ลำพูน
 
32. พระครูถาวรศีลคุณ (ครูบาอินตา) วัดวังทอง ลำพูน
 
33. พระครูถาวรอายุวัฒน์ (ครูบาสิงห์แก้ว) วัดป่าขามบ้านหลุก ลำพูน
 
34. พระครูปัญญาธรรมวัฒน์ (ครูบาอินทร) วัดสันป่ายางหลวง ลำพูน
 
35. ครูบาต่วน อริยวังโส วัดหนองปลาขอ ลำพูน
 
36. ครูบาจ้อน จันทรังสี วัดป่าตาล ลำพูน
 
37. ครูบาตุ่น ปัญญาวิลาโส วัดบ้านล้อง ลำพูน
 
38. ครูบาคำมูล มังคลิโก วัดหนองบัว ลำพูน
 
39. พระครูมงคลวรเวช (ครูบาดวงจันทร์) วัดป่าเส้า ลำพูน
 
40. พระครูบวรสุขบท (ครูบาสุข) วัดป่าซางน้อย ลำพูน
 
41. พระครูพิพัฒน์จันทร์วงศ์ (ครูบาจันทร์) วัดสันเจดีย์ริมปิง ลำพูน
 
42. พระครูวิชาญศาสนคุณ (หลวงพ่อวิชาญ) วัดหนองดู่ ลำพูน
 
43. พระครูอุดมวรคุณ (หลวงพ่ออุดม) วัดเกาะกลาง ลำพูน
 
44. พระครูสังฆวิชัย (หลวงพ่อไสว) วัดปากทางม่วงโตน ลำพูน
 
45. พระครูชัยวงศ์วิวัฒน์ (ครูบาน้อย) วัดบ้านปง เชียงใหม่
 
46. พระครูวรวุฒิคุณ (ครูบาอิน) วัดฟ้าหลั่ง เชียงใหม่
 
47. พระครูมงคลคุณาธร (ครูบาคำปัน) วัดหม้อคำตวง เชียงใหม่
 
48. พระครูมนูญธรรมาภรณ์ (ครูบาอิ่นคำ) วัดมหาวัน เชียงใหม่
 
49. พระสุพรหมยานเถร (ครูบาทอง) วัดพระธาตุศรีจอมทอง เชียงใหม่
 
50. พระครูสุภัทรศีลคุณ (ครูบาดวงดี) วัดท่าจำปี เชียงใหม่
 
51. พระครูสมห์สรศักดิ์ (ครูบาจันทรังสี) วัดกู่เต้า เชียงใหม่
 
52. พระครูสันติยานุศาสน์ (ครูบาอิ่นคำ) วัดข้าวแท่นหลวง เชียงใหม่
 
53. ครูบาคำหล้า เตชปุญโญ วัดป่าลาน เชียงใหม่
 
54. พระครูพฤฒาจารย์ (ครูบาคำตั๋น) วัดสันทรายหลวง เชียงใหม่
 
55. พระครูพิศิษฐ์สังฆการ (ครูบาผัด) วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่
 
56. ครูบาบุญยืน วัดมงคลวราราม เชียงใหม่
 
57. ครูบาธูป วัดทรายมูลเมือง เชียงใหม่
 
58. พระครูสถิตธรรมวัฒน์ (ครูบาดวง) วัดกู่ลายมือ เชียงใหม่
 
59. ครูบาบุญมี วัดศิลามงคล เชียงใหม่
 
60. ครูบาอินสม อินทวังโส วัดป่าเดื่อ เชียงใหม่
 
61. ครูบาเทือง นาถสีโล วัดบ้านเด่น เชียงใหม่
 
62. พระครูอมรธรรมประยุต (ครูบาบุญจันทร์) วัดแม่ริม เชียงใหม่
 
63. พระครูสุภัทรปัญญาคุณ (ครูบาแสน) วัดหิรัญนิคม เชียงใหม่
 
64. พระครูสันตจิตตานุยุติ (ครูบาตั๋น) วัดป่าลาน เชียงใหม่
 
65. ครูบาต๋า วัดอุโบสถบ้านเหล่า เชียงใหม่
 
66. พระครูมงคลคันธวงศ์ (ครูบาศรียูร) วัดมงคลทุ่งแป้ง เชียงใหม่
 
67. พระครูอภิชัยวรคุณ (ครูบาชัยวงศ์) วัดนาหวาย เชียงใหม่
 
68. ครูบาบุญเป็ง คัมภีโร ศิษย์ครูบาอภิชัยขาวปี วัดทุ่งปูน เชียงใหม่
 
69. พระครูจันทโรภาส (หลวงปู่จันทร์) วัดป่าข่อย สุโขทัย
 
70. พระครูปิยรัตนาภรณ์ (พระอาจารย์บุญรัตน์) วัดโขงขาว เชียงใหม่
 
71. พระอาจารย์สุชิน สำนักวิปัสสนาเกษตรใหม่ เชียงใหม่
 
72. พระครูชัยสารพิศิษฐ์ (ครูบาเผือก ฐิตเมโธ) วัดไชยสถาน เชียงใหม่
 
73. พระอาจารย์สำเร็จ วัดสำเร็จธรรมเทวาบรรพต เชียงใหม่
 
74. พระสุเทพสิทธาจารย์ (ครูบาคำ) วัดพระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่
 
75. พระครูวุฒิญาณวิศิษฐ์ (ครูบาวิลาศ) วัดต้นหนุน เชียงใหม่
 
76. พระครูโสภิตสารภาณ (ครูบาใจมา) วัดทุ่งจำลอง เชียงใหม่
 
77. พระครูประสิทธิบุญญาคม (ครูบาบุญมา) วัดม่วงเขียว เชียงใหม่
 
78. พระวิมลธรรมญาณเถร (หลวงพ่อทองบัว) วัดโรงธรรมสามัคคี เชียงใหม่
 
79. พระครูสันตยาธิคุณ (หลวงพ่อทองอินทร์) วัดสันติธรรม เชียงใหม่
 
80. พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก เชียงใหม่
 
81. พระครูภาวนาภิรัต (หลวงพ่อสังข์) วัดป่าอาจารย์ตื้อ เชียงใหม่
 
82. พระครูวิทิตศาสนกิจ (หลวงพ่อไพโรจน์) วัดดอยปุย เชียงใหม่
 
83. พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ เชียงใหม่
 
84. หลวงพ่อคำผอง กุสลธโร วัดป่าผาแด่น เชียงใหม่
 
85. พระอาจารย์ภุชงค์ อภิปุญโญ วัดป่าเทพเนรมิตร เชียงใหม่
 
86. พระครูวิสุทธิวราการ (หลวงพ่อศุภกร) วัดดงเทวี เชียงใหม่
 
87. พระอาจารย์เมธา สุเมโธ วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
 
88. พระอาจารย์สิริบุญวัฒน์ (พระอาจารย์เสวต) วัดเจดียบรรพต เชียงใหม่
 
89. พระครูจิตตวิโสธนาจารย์ (หลวงปู่หนู) วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
 
90. หลวงปู่สมบัติ คุเณสโก วัดก้ำก่อ แม่ฮ่องสอน
 
91. พระครูสุขุมบุญวัฒน์ (หลวงพ่อบุญส่ง) วัดล้านนาญาณสังวราราม เชียงใหม่
 
92. พระอาจารย์โสวัจ อาจาโร วัดดงป่าริน เชียงใหม่
 
93. พระอาจารย์สาม ฐานวโร วัดพระธาตุดอยพระเจ้า เชียงใหม่
 
94. หลวงตาม้า วัดถ้ำเมืองนะ เชียงใหม่
 
95. พระอาจารย์ทองปาน วัดพุทธอุทยานถ้ำน้ำลอด แม่ฮ่องสอน
 
96. พระอาจารย์นพดล สิริวัฑฒโน วัดพระพุทธบาทตะเมาะ เชียงใหม่
 
97. พระครูประสิทธิศึกษากร (หลวงพ่อสุทัศน์) วัดแจ้ง ปราจีนบุรี
 
98. พระครูธรรมสารรักษา (หลวงพ่อป่วน) วัดหนองบัวทอง สุพรรณบุรี
 
99. พระครูขันตยาภรณ์ (ครูบาคำ) วัดศรีเกิด เชียงใหม่
 
100. พระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
 
101. พระครูสิริรัตนาภรณ์ (ครูบากัญไชย) วัดมาตานุสรณ์ ตาก
 
102. พระครูสมุทรพัฒนโสภณ (หลวงพ่อทองหล่อ) วัดคันสัต สมุทรปราการ
 
103. พระราชภาวนาวิกรม (ธงชัย) วัดไตรมิตร กรุงเทพมหานคร
 
104. พระราชมงคลญาณ (สงัด) วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร
 
105. พระครูสุนทรธรรมโกศล วัดเสนาสนาราม อยุธยา
 
106. พระครูโกศลธรรมโสภิต วัดหน้าพระเมรุ อยุธยา
 
107. ครูบาอนันต์ พุทธธัมโม วัดพระธาตุแสงแก้วมงคล พะเยา
 
108. พระครูพิทักษ์พรหมวิหาร (หลวงพ่อตี๋) วัดพรหมวิหาร เชียงราย
 
109. พระครูไพโรจน์วุฒิธรรม วัดตรีทศเทพวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
 
110. พระครูสุเวทกิตติคุณ (หลวงพ่อชุบ) วัดเกาะวาสุการาม ลำปาง

.......................................................
คาถาบูชา ครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนา

อะยัง วุจจะติ สิริวิชะโย นามะ มหาเถโร อุตตะมะสีโล นะระเทเวหิ ปูชิโต โส ระโห ปัจจะยาทีนัง มะหะลาภา ภะวันตุ เม อะหัง วันทามิ สัพพะทา อะหัง วันทามิ สิระสา อะหัง วันทามิ สัพพะโส สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิฯ

.....................................................................................


ครูบาศรีวิชัย  นักบุญแห่งล้านนาไทย

จากข้อมูลในหนังสือ สารประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ของ สิงฆะ วรรณสัย ได้ระบุข้อมูลชีวิตชั้นต้นของ ครูบาเจ้าศรีวิชัย ไว้ว่า ท่านเกิดในปีขาล เดือน 9 เหนือ หรือเดือน 7 ของภาคกลาง ตรงกับวันขึ้น 11 ค่ำ จ.ศ. 1240 เวลาพลบค่ำ ซึ่งตรงกับวันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2421 ที่บ้านปาง ตำบลแม่ตืน ในปัจจุบันคือ ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ท่านเป็นบุตรของนายควาย และนางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน บ้านเกิดของพวกเขาคือ บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูน ในวันที่นางอุสาเจ็บท้องจะคลอดลูก พระอาทิตย์ได้คล้อยต่ำลงไปเกือบจะ 6 โมงเย็น นายควายและญาติพี่น้องพร้อมด้วยหมอตำแย ได้ดูแลการคลอดของนางอุสาอย่างเต็มที่ และในขณะนั้นท้องฟ้าอากาศที่สว่างไสวกลับมืดครึ้ม เกิดพายุแรงพัดกระหน่ำสายฝนตกลงมาอย่างหนักและมีเสียงฟ้าร้อง

จนกระทั่งในที่สุด นางอุสาก็ได้คลอดทารกน้อยออกมาพร้อมกับเสียงร้องไห้และเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งเมื่อเสียงฝนและพายุก็หยุดสงบลง ทำให้ครอบครัวของนายควายได้ตั้งชื่อเด็กน้อยที่เกิดขึ้นมาว่า ‘เด็กชายอินท์เฟือน’ ตามภาษาล้านนาแปลว่ากระเทือนหรือกัมปนาท

เมื่อครั้งยังเป็นหนุ่มน้อยอายุ 17 ปี นายเฟือนได้เข้าสู่เส้นทางธรรม บวชเป็นเณรที่วัดบ้านปาง ร่ำเรียนวิชาต่าง ๆ กับครูบาขัตติยะ เมื่อสามเณรอินตาเฟือนมีอายุย่าง 21 ปี ก็ได้อุปสมบทเป็นพระที่วัดบ้านโฮ่งหลวง จังหวัดลำพูน ได้รับฉายานามว่า “สิริวิชโยภิกขุ” หรือ “พระศรีวิชัย”

พระศรีวิชัย เป็นที่ร่ำลือกันว่า ท่านเป็นผู้มีศรีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัด อาทิ ท่านงดการเสพหมาก เมี่ยง บุหรี่ นอกจากนี้ยังงดฉันเนื้อสัตว์ ตั้งแต่เมื่ออายุ 26 ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักจะเป็นผักต้มใส่กับเกลือและพริกไทย

ด้วยจริยวัตรอันเคร่งครัดของท่าน ทำให้เกิดแรงศรัทธาแก่เหล่าพุทธศาสนิกชน กระทั่งรวบรวมเหล่าพุทธศาสนิกชนทำการสร้างทางเดินขึ้นดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ได้เป็นผลสำเร็จ โดยเริ่มสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477 และสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2478

นอกจากที่ท่านจะสร้างทางขึ้นดอยสุเทพแล้ว ท่านยังได้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกฉบับลานนาไทย รวมทั้งการสร้าง และบูรณวัดต่าง ๆ หลายวัด ท่านเป็นผู้ทรงศีล จนได้รับขนานนามว่า “พระครูบาศีลธรรมเจ้า”

พระศรีวิชัย ให้ความสนใจในวิชาอาคม และยึดถือเป็นของวิเศษ นำพาความเจริญสู่ชีวิตมาให้ และว่ากันว่า ด้วยความเลื่อมใสในวิชาอาคม พระศรีวิชัยมีความคิดที่จะลาสิกขา รวมทั้งท่านยังได้สักขาหมึกดำทั้ง 2 ข้างตามความนิยมของชายล้านนาสมัยนั้น

ในเวลานั้นครูบาขัตติยะมรณภาพลง พระศรีวิชัยจึงได้ทำบุญฌาปนกิจพระอาจารย์ หลังจากนั้นด้วยท่านเป็นพระที่มีพรรษามากที่สุดในขณะนั้น ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัด จากนั้นจึงทำการย้ายวัดจากที่ตั้งเดิมขึ้นไปอยู่บนเขา และให้ชื่อว่า “วัดศรีดอนชัยทรายมูลบุญเรือง”

ชื่อเสียงของครูบาเจ้าศรีวิชัยทำให้พระสังฆาธิการในจังหวัดลำพูนบางรูปนำโดยเจ้าคณะจังหวัดลำพูนตั้งอธิกรณ์กล่าวหาว่าท่าน 8 ข้อ อาทิ ทำตัวเป็น “ผีบุญ” อวดอิทธิฤทธิ์ ซ่องสุมกำลังผู้คน คิดขบถต่อบ้านเมือง และนำท่านไปจำไว้ที่ลำพูนและวัดศรีดอนไชย เชียงใหม่ จากนั้นจึงได้ส่งตัวท่านไปไต่สวนที่กรุงเทพฯ

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงทรงตั้งคณะกรรมการพิจารณาเรื่องพระศรีวิชัย ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ พระญาณวราภรณ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต) และพระธรรมไตรโลกาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ได้ถวายรายงานมีความเห็นว่า ข้อ 1-5 ซึ่งเกี่ยวกับการไม่ให้ความร่วมมือกับฝ่ายปกครอง พระศรีวิชัยรับสารภาพและได้รับโทษแล้ว ข้อที่เหลือซึ่งเกี่ยวกับการอ้างคุณวิเศษ พระศรีวิชัยไม่มีความผิด เพราะประชาชนเล่าลือไปเอง และเจ้าคณะลงโทษเกินไป ควรปล่อยพระศรีวิชัยกลับภูมิลำเนา สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณโรรสทรงเห็นชอบ

ครูบาศรีวิชัย มรณภาพเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สิริอายุได้ 60 ปี ตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปาง เป็นเวลา 1 ปี จึงได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ ณ วัดจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จนกระทั่งวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนมาร่วมในพิธีพระราชทานเพลิงศพจำนวนมาก และประชาชนเหล่านั้นได้เข้าแย่งชิงอัฏฐิธาตุของครูบาศรีวิชัย ตั้งแต่ไฟยังไม่มอดสนิท แม้แต่แผ่นดินตรงที่ถวายพระเพลิง ก็ยังมีผู้ขุดเอาไปสักการบูชา อัฏฐิธาตุของท่านที่เจ้าหน้าที่สามารถรวบรวมได้ได้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ส่วน แบ่งไปบรรจุตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วแผ่นดินล้านนา ดังนี้

ส่วนที่ 1 บรรจุที่ วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน
ส่วนที่ 2 บรรจุที่ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่
ส่วนที่ 3 บรรจุที่ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม จังหวัดลำปาง
ส่วนที่ 4 บรรจุที่ วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา
ส่วนที่ 5 บรรจุที่ วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่
ส่วนที่ 6 บรรจุที่ วัดน้ำฮู จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ส่วนที่ 7 บรรจุที่ วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวภายหลังการร่วมคณะพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ร่วมรับฟังข้อเสนอการสนับสนุนแผนแม่บทโครงการเสนอชื่อครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นบุคคลสำคัญของโลก

รวมถึงติดตามการดำเนินงานในจังหวัดเชียงใหม่ ว่ากระทรวงศึกษาธิการ มีบทบาทหลักในการสนับสนุนการดำเนินงานขับเคลื่อนการเสนอชื่อ ครูบาเจ้าวิชัย ให้ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพในวาระครบรอบ 150 ปี ชาตกาล ครูบาเจ้าศรีวิชัย ในพ.ศ.2571 ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก
 ราคา :   4,999
 
 ร้าน :   พลังศรัทธา  
 เบอร์โทรติดต่อ :   0966644953
 E-mail :   PhlangSraththa@hotmail.com

 วันที่อัพเดตข้อมูลล่าสุด :   15 ม.ค. 2567 13:10:34